การ์ตูน แอนิเมชั่น มีกี่ประเภท? EP.2

Animation Type EP.2

การ์ตูน แอนิเมชั่น มีกี่ประเภท? EP.2

Share this :

การ์ตูน แอนิเมชั่น มีกี่ประเภท? EP.2

 

“การ์ตูน ANIMATION มีกี่ประเภท?” EP.2  วันนี้ขออธิบายต่อถึงแอนิเมชั่นอีก 3 ประเภท คือ

 

3. Computer Animation

 

Computer Animation  คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณสร้างภาพ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1970 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน   Computer Animation สามารถสร้างภาพออกมาได้อย่างสวยงาม สมจริงขึ้น ซับซ้อนขึ้นแต่สามารถช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับแอนิเมชั่นประเภทอื่นๆ ในปัจจุบันมี ซอฟต์แวร์ผลิตแอนิเมชั่นให้เลือกใช้จำนวนมาก เช่น  3ds Max, Adobe Flash, Adobe After Effect, Blender, Cinema 4D, LightWave, Maya เป็นต้น  

Computer Animation  เริ่มนำมาใช้และสามารถพบเห็นมากขึ้นในหลายวงการ ทั้งใน การจำลองทางวิทยาศาสตร์, การแพทย์,  การจราจรคมนาคม,  การบิน,  สถาปัตยกรรม,   เกมคอมพิวเตอร์,  วงการภาพยนตร์ เป็นต้น สำหรับภาพยนตร์ที่โด่งดัง กอบโกยทั้งรายได้และชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น  Star Wars, Jurassic Park,  Avatar,  Transformers และอีกมากมาย

ภาพยนตร์ Jurassic Park  (1993)

 

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=9v_UCB_qwPc 

 

 

สำหรับในประเทศไทยมีการนำ Computer Animation มาใช้ในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ และได้รับการจัดฉายในโรงภาพยนตร์ไอแม็กซ์เป็นเรื่องแรก  คือ  ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชั่น ตอน ตะลุยโลกอนาคต”  เมื่อปี พ.ศ. 2545  ซึ่งเป็นผลงานการผลิตของ บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด  

 

ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชั่น ตอน ตะลุยโลกอนาคต”

ที่มา : https://youtu.be/Ggi1I5LIDkM

 

Computer Animation แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แอนิเมชั่นแบบ 2 มิติ (2D Animation) และ แอนิเมชั่นแบบ 3 มิติ  (3D Animation)  ใน EP. 1  ได้อธิบายถึง 2D Animation กันไปแล้ว จึงขออธิบายเฉพาะ 3D Animation ดังนี้

3D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวที่มองเห็นแบบ 3 มิติ ได้แก่เห็นทั้งความสูง ความกว้างและความลึก ทำให้เกิดความสมจริงมากกว่าภาพ 2 มิติ  ส่วนใหญ่จะเห็นได้ในการ์ตูนแอนิเมชั่นทางทีวีหรือภาพยนตร์และสื่อโฆษณาต่างๆ   ในปัจจุบันมีการนำ 3D Animation ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจหลากหลายประเภทมากขึ้น  เช่น การนำไปประยุกต์เข้ากับอุตสาหกรรมการผลิต, การก่อสร้าง, การเขียนแบบ, การออกแบบ, งานด้าน Presentation เช่น นำเสนอรูปแบบการจัดงานแสดงสินค้า, การนำเสนอโครงการบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม, การนำเสนอผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง หรือ การนำ 3D Animation มาประยุกต์กับการผลิตเกมส์ 3D เป็นต้น

3D Animation ทีวีซีรีส์ : Godji The Adventure  ออกอากาศในรายการโมเดิรน์ไนท์การ์ตูน ช่อง Modern 9 TV และช่อง MCOT HD

ที่มา : https://youtu.be/rrceX_N0XmE

 

 

3D Animation  ใน Presentation สินค้ารองเท้า Nike Lunar Epic Flyknit

 

ที่มา : https://bit.ly/3gfIWVs

 

 

Starlux สายการบินน้องใหม่ของไต้หวัน ใช้  3D animation วีดีโอความปลอดภัยบนเที่ยวบิน ด้วยทุนสร้างประมาณ 30 ล้านบาท  โดยให้ชื่อวีดีโอว่า “Star Wonderer” จำลองว่าผู้โดยสารมาจากดวงดาวต่าง ๆ ในจักรวาลที่ชื่อว่า Starlux

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=ZDP2Nj6wHxE&t=62s

 

 

 โครงการ Notting Hill Hyde Park-สะพานใหม่

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=2WSysB5eW7M

 

 

 

4. Motion Graphics

 

Motion Graphics เป็นการผสมคำ 2 คำคือ โมชั่น (Motion) ซึ่งหมายถึง การเคลื่อนไหว และ คำว่า กราฟิกส์ (Graphics) หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพในที่นี้หมายความได้หลายอย่างไม่ใช่แค่เพียง ภาพถ่าย หรือภาพวาด เท่านั้น แต่รวมไปถึงภาพการ์ตูน รูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ลายเส้น เป็นต้น ทุกอย่างถือเป็นภาพกราฟิกส์ได้ทั้งหมด   ดังนั้นเมื่อสองคำนี้มาผสมรวมกันจึงมีความหมายว่า “ภาพกราฟิกส์แบบเคลื่อนไหวได้” นั่นเอง

โมชั่นกราฟิกส์ จะเป็นการนำกราฟิกส์ต่างๆ มาขยับเคลื่อนไหวให้เกิดความน่าสนใจ ทำให้งานกราฟิกส์ที่ก่อนหน้านี้เป็นเพียงภาพนิ่งกลับมีชีวิตชีวาเคลื่อนไหวได้ สร้างความสนุกสนานให้กับงานกราฟิกส์มากยิ่งขึ้น และสามารถใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวข้อมูลต่างๆ ได้ดีและน่าสนใจกว่าภาพกราฟิกส์ธรรมดา ส่งผลให้การสื่อสารเรื่องราวต่างๆ นั้นมีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ปัจจุบันพบเห็นการใช้โมชั่นกราฟิกส์ในงานหลายแขนง เช่น รายการโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ งานโฆษณา ภาพยนตร์ ซีรีส์ หรือแม้แต่ในมิวสิควิดีโอ

 

Motion Graphics ช่วยเพิ่มสีสันให้การโฆษณาดูมีชีวิตชีวามากขึ้น

 

ที่มา : https://vimeo.com/68556845

 

 

Motion Graphics แนะนำวิธีการดูแลตัวเองช่วง COVID-19

 

ที่มาภาพ : https://youtu.be/9lovhVNjcmw

 

 

 

5.  Stop Motion Animation

 

Stop Motion Animation คือ งานแอนิเมชั่นที่ต้องสร้างส่วนประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่นๆ นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษหรือวาดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 

Stop Motion Animation มีหลากหลายรูปแบบ เช่น เคลย์แอนิเมชั่น (Clay animation หรือ เคลย์เมชั่น  claymation),  คัตเอาต์แแอนิเมชั่น (Cutout animation), หุ่นกระบอกหรือโมเดลแอนิเมชั่น (Puppet or Model animation),  พิกซิลเลชั่น (Pixilation), แอนิเมชั่นกับวัตถุ (Object animation),  แอนิเมชั่นเงาของแสง (Silhouette animation) เช่น หนังตะลุงของภาคใต้ถือเป็นหนึ่งใน Stop Motion Animation เช่นกัน รวมถึงการใช้คนจริงค่อยๆ ขยับทีละนิดเพื่อบันทึกทีละรูปแล้วนำมาเรียงต่อกันด้วยจำนวนภาพ 8-24 ภาพต่อวินาที นับว่าเป็นแอนิเมชั่นที่ต้องใช้ความสามารถและความละเอียดสูงมากและใช้เวลาในการผลิตยาวนานมากเช่นกัน

Stop Motion Animation ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่นิยมของผู้ชม เช่น ภาพยนตร์แอนิเมชั่น Corpse Bride,  Frankenweenie,  Fantastic Mr. Fox และล่าสุด ซีรีส์เกาหลี It’s Okay to Not Be Okay  ซึ่งมีฉาก Stop Motion แทรกอยู่เป็นระยะๆ  เป็นต้น

 

It’s Okay to Not Be Okay (2020)

ที่มา : https://youtu.be/P_KGmZjadiU

 

 

Corpse Bride (2005)

ที่มาภาพ : https://www.imdb.com/title/tt0121164/

 

Fantastic Mr. Fox (2009)

ที่มาภาพ : https://www.film89.co.uk/fantastic-mr-fox-2009/

 

 

ตัวอย่าง Pixilation

ที่มา : https://youtu.be/tkIPTsEhUXQ

 

 

ตัวอย่าง Clay Animation

ที่มา : https://youtu.be/PTFI7_tAgm4

 

 

ตัวอย่าง Cut Out Animation

ที่มา : https://vimeo.com/75196023

 

ในอนาคตเราน่าจะได้เห็น Animation  ในรูปแบบต่างๆ และเทคนิคใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างสีสันและเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจหลายประเภท สำหรับบริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด เองไม่เคยหยุดพัฒนาในการบริการด้านงาน Animation  ด้วยทีมงานมืออาชีพมากประสบการณ์ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าทั้งหน่วยงานรัฐบาลและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถรับชม ผลงาน Animation และผลงานอื่นๆ  ของพวกเราเพิ่มเติมได้ที่  https://vithita.com/service/animation/ 

โปรดติดตามข้อมูลดีๆ ที่เราจะนำเสนอต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบมา ณ ที่นี้ครับ

 

วิธิตา แอนิเมชั่น ให้บริการออกแบบและผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น โดยสามารถนำ “มาสคอต” หรือ “แบรนด์ คาแรคเตอร์” ของท่านมาต่อยอดได้ทั้งในรูปแบบการ์ตูนสั้น (Short Animation)  หรือ การ์ตูนซีรีส์ยาว (Animation Series) สนใจติดต่อปรึกษาหรือสอบถามบริการได้ที่

โทร. 086-325-4123, 086-325-4161

LINE : @vithita

Email : contact@vithita.com

 

 

 

 


Share this :